สถิติ
เปิดเมื่อ7/01/2018
อัพเดท21/01/2018
ผู้เข้าชม640
แสดงหน้า745
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




ไทยเที่ยวไทย

อ่าน 15 | ตอบ 0
       บ้านเรามีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจมากมายทั้ง ธรรมชาติ ป่า เขา ท้องทะเล วัดวาอาราม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมีความน่าสนใจในระดับสูงมาก หลายแห่งมีความโดดเด่นจัดอยู่ในขั้นมหัศจรรย์เมืองไทยที่ไม่ไปไม่รู้ ชนิดที่ขาเที่ยว(ไทย)ทั้งหลายต้องหาโอกาสไปให้ได้สักครั้ง(หรือหลายๆครั้ง)ในชีวิต แต่มีข้อแม้ว่าต้องไปให้ถูกที่ ถูกทาง ถูกจังหวะ ถูกเวลา ก็จะได้รับความประทับใจอิ่มเอมปรีดากลับไป
       
       ด้วยเหตุนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จึงคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวอันโดดเด่นเหล่านั้นมานำเสนอนักท่องเที่ยวภายใต้แคมเปญ(ใหม่) “12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” เพื่อเชิญชวนให้คนไทยเที่ยวไทยมากขึ้น และเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไปในตัว 

 
“12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” มหัศจรรย์เมืองไทย ไม่ไปไม่รู้
ดอกไม้บานบนภูสอยดาว อุตรดิตถ์
        “12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” มหัศจรรย์เมืองไทย
       
       สำหรับแคมเปญนี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ชะลอการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยก็มีการวางแผนการเดินทางที่ประหยัดมากขึ้น เช่น ลดการท่องเที่ยว เลือกเดินทางท่องเที่ยวแบบไม่พักค้างคืน ท่องเที่ยวในระยะใกล้ ฯลฯ จึงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง
       
       “ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศให้กลับฟื้นคืนสภาวะปกติ ททท. จึงได้ดำเนินโครงการ “12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและสร้างกระแสให้คนไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวที่ปรากฏในโครงการฯ ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และเป็นการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ” นายวีระศักดิ์กล่าว 

 
“12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” มหัศจรรย์เมืองไทย ไม่ไปไม่รู้
ผืนพรมแห่งทะเลทุ่งหญ้าที่ทุ่งแสลงหลวง พิษณุโลก
        ด้าน นางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท. กล่าวว่า ททท. ได้จัดทำหนังสือเพื่อเป็นคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะใช้ในการเดินทางพร้อมรายละเอียดของเส้นทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นคู่มือแนะนำในการเลือกเดินทางท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งที่นักท่องเที่ยวคุ้นเคย และได้ยินชื่อเสียงของความงดงามอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าในแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว จุดไหนเป็นจุดที่ดีที่สุด และช่วงเวลาไหนที่เป็นช่วงเวลาที่สวยที่สุดของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ อาทิ
       
       ในเดือนมิถุนายนนี้นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความงามของทุ่งหญ้าและธรรมชาติต้องไม่พลาดที่จะไปเที่ยวทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก ทุ่งหญ้าที่คนไทยทุกคนรู้ว่าเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาสีทองที่สวยที่สุดในโลก แต่ยังไม่มีใครทราบว่าในเดือนนี้ ทุ่งหญ้าสีทองแห่งนี้จะกลายมาเป็นทุ่งหญ้าสีเขียวขจีประดุจผืนพรมธรรมชาติ ที่แซมไปด้วยดอกกระเจียวขาวแทงชูช่อออกมาเป็นระยะๆ และทุ่งหญ้าแห่งนี้ยังเป็นเส้นทางขี่จักรยานที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดและสวยที่สุดของสถานที่แห่งนี้ คือ ช่วงเช้าตรู่ (ประมาณ 07.00 น.) 

 
“12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” มหัศจรรย์เมืองไทย ไม่ไปไม่รู้
ซากุระเมืองไทยบาน เชียงใหม่
        ตามรอย “12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน”
       
       อนึ่งนิยามของคำว่า “12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน”นั้น แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
       
       “12 เดือน” คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติสุดยอดมุมมองของการท่องเที่ยว ที่ถูกคัดสรรว่าสวยที่สุด น่าดูที่สุด ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปสัมผัส โดยมีแนวคิดมาจากการได้ไปชื่นชมแหล่งท่องเที่ยวในตำแหน่งและในช่วงเวลาที่สวยงามที่สุด โดย ททท.ได้คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวซึ่งจะปรากฏความงามออกมาให้ดูได้เฉพาะในแต่ละเดือนตามปีปฏิทินเดือนละ 2 แห่ง ให้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินทางได้ตลอดปีทั้ง 12 เดือน
       
       “7 ดาว” หมายถึง ความมหัศจรรย์แห่งความสวยงามที่เกิดขึ้นยามค่ำคืนที่น่าสนใจที่สุด
       
       “9 ตะวัน” คือ สุดยอดแห่งปรากฏการณ์ภาคกลางวัน ที่ความงดงามได้ปรากฏให้ได้เห็น หากพลาดในปีนี้ ก็คงต้อง ณ เวลานี้ในปีถัดไป จึงนับได้ว่าเป็นการสร้างกระแสการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพื่อให้คนไทยตื่นตัวที่จะออกมาท่องเที่ยวกันมากขึ้น 

 
“12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” มหัศจรรย์เมืองไทย ไม่ไปไม่รู้
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :